ก่อนที่เราจะดูวิธีแก้ปัญหาลูกน้อย ผมว่าเรามาดูที่ปัญหากันก่อนดีกว่าว่าทำไมคนไทยมีลูกน้อย ถ้า segment ปัญหานี้ออกเป็นชนชั้น น่าจะเป็นแบบนี้ (ปัจจุบันอัตราการเกิดของไทยลดลงจาก 8 แสน – 1 ล้าน คนต่อปี เหลือ 4-5 แสนคนต่อปี หรือลดลงราวๆครึ่งนึง) ทีนี้ ถ้าแจกเงินแบบไม่คิดอะไร จ่ายเป็นรายหัว มันไปกระตุ้นให้คนล่าง – กลางล่าง มีลูกเยอะขึ้น และเงินก็ไม่รู้ไปถึงเด็กจริงๆไหม บางครอบครัวถึงเด็กจริง แต่บางครอบครัวก็กลายเป็นค่าเหล้าค่าเบียร์พ่อแม่หมด ทีนี้มาดูกันว่า ทำไมระดับ กลาง ถึงมีลูกน้อยลง วิธีการแก้ปัญหา สำหรับเรื่องการเพิ่มวันลาหลังคลอด ข้อนี้ +/- เพราะมองว่าไม่ได้กระตุ้นชนชั้นกลางบนมากนัก แต่ไปทำให้กลุ่มที่มีลูกมากอยู่แล้วลาบ่อยจนอาจนำไปสู่การจ้างออกได้ เพราะคนที่มีลูกมาก ก็มีกันปีเว้นปี ถ้าให้ลาได้ 6 เดือน – 1 ปี อาจไม่ได้ทำงานเลย และนำไปสู่การจ้างออกของนายจ้างในที่สุด การเปลี่ยนค่านิยมเรื่องการทำงานก็สำคัญ โดยเฉพาะแนวคิด 9-9-6…


ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาที่รัฐบาลไทยยังตระหนักน้อยกว่าความจริงไปมาก
ผมเป็นคนแรกๆ น่าจะตั้งแต่ปี 2556 ที่ออกมาพูดเรื่องปัญหา aging society จนปี 2559 ได้เริ่มทำเพจ tobepharmacist ก็พูดถึงปัญหานี้มาตลอด จนคนเริ่มตระหนักและออกมาพูดกันมากขึ้นก็คือปี 2561 ก็ดีใจ (ก่อนหน้านี้ยังงงๆกันอยู่เลยว่ามันเป็นปัญหาอะไร หรือไม่น่าใช่ปัญหาใหญ่โตอะไร) แต่ก็ไม่เคยเห็นออกมาตรการอะไรเป็นรูปเป็นร่างเพื่อแก้ปัญหา จนถึงวันนี้ ก็เหมือนยังไม่เข้าใจกันจริงๆ ก็เกาไม่ถูกที่คันกันซะที ปัญหา aging society เมืองไทย ไม่เหมือนที่อื่นบนโลก เพราะยุโรป ปัญหาหลักเกิดจากคนแก่อายุยืนขึ้นมาก แต่เมืองไทย คนแก่ไม่ได้อายุยืนขึ้นขนาดนั้น ปัญหาของเมืองไทย คล้ายๆกับญี่ปุ่นคือ เด็กเกิดน้อยลงมากต่างหาก ซึ่ง aging จากสาเหตุนี้ รุนแรงกว่า aging จากการที่คนแก่อายุยืนขึ้นมากๆ และจะไปใช้ตำรายุโรปมาแก้ปัญหาเดียวกันนี้ไม่ได้ แต่เราก็มีจุดพิเศษที่น่าปวดหัวกว่าญี่ปุ่นคือ แม้ว่าคนไทยจะอายุยืนขึ้น แต่ช่วงระยะเวลาที่แข็งแรง ไม่ได้เพิ่ม คือตายช้าลงก็จริง แต่เวลาที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่เวลาที่มีคุณภาพ เช่นระยะเวลาป่วยติดเตียง เพิ่มขึ้นมาแทน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และจะเป็นภาระต่อโครงสร้างภาระการเลี้ยงดูมากกว่าญี่ปุ่นด้วยซ้ำ…

สังคมกำลังบอกอะไรเรา เมื่อเกิดเหตุการณ์ ยื่น Port เข้าคณะแพทย์ต้องมี Paper ตีพิมพ์
บอกตรงๆ ผมเองก็พึ่งทราบเหมือนกัน ว่าสมัยนี้ถ้าเราจะเข้ามหาลัย มันจะมีรอบที่ไม่ต้องสอบ เรียกว่ารอบ Port ก็คือยื่น Portfolio แล้วเข้าได้เลย การพิจารณาก็จะดูจากผลงานพอร์ตนั่นแหละ แต่ส่วนใหญก็จะมีการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ซึ่งคณะแพทย์บางแห่ง ก็มีกฎว่า ถ้าจะมีคุณสมบัติที่จะยื่นเข้ารอบนี้ด้วย ต้องมีผลงานวิจัยทางวิชาการ โดยเฉพาะงานวิชาการด้านการแพทย์ ตีพิมพ์ลง Paper ด้วย ซึ่งเอาจริงๆ มองผิวเผินมันก็เหมือนกับต้องการคัดเด็กอัจฉริยะด้านการแพทย์ ที่มีผลงานทางวิชาการถึงขั้นลง Paper งานวิจัยแต่ตั้งแต่มัธยม แต่ว่าในความจริงมีเด็กมัธยมสักกี่คนที่ทำแบบนั้นได้ มันเลยเกิดโรงเรียนแบบใหม่ที่สอนคอร์สเพื่อฝึกให้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการโดยเฉพาะ แล้วก็นำมาสู้ประเด็นดราม่า ดังรูป พูดกันตามตรง นี่ไม่ใช่ครั้งแรก หรือครั้งแรกของเมืองไทย ที่มีการออกกฎเพื่อให้ privilege หรือสิทธิพิเศษแก่คนกลุ่มใดกลุ่มนึง และอันที่จริง มีแบบนี้ในทุกวงการด้วย ยกตัวอย่างวงการกฎหมาย ก็มีสอบผู้พิพากษา – อัยการ สนามจิ๋ว สนามเล็กและก็สนามใหญ่ สนามจิ๋วเรียกได้ว่าเป็น privilege สำหรับคนจบนอก แน่นอนว่าคนทั่วไปไม่มีปัญญาไปเรียนนอกแน่ๆ สนามเล็กก็เหมือนสงวนไว้ให้ลูกท่านหลานเธอโดยปริยาย เรื่องทำ paper แล้วยื่นพอร์ตเข้าแพทย์ก็เหมือนกัน…

วิธีการดูโฉนด ราคาประเมินจากกรมที่ดิน แบบออนไลน์
ตอนนี้เราสามารถตรวจสอบที่ดิน ดูแผนที่ดูสถานที่จริงๆ ดูราคาประเมินของทางราชการ ผ่านระบบแปลงที่ดินแบบออนไลน์ได้แล้วนะครับ เป็นประโยชน์มากๆเวลาเราจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งช่วยให้เราสกรีนคร่าวๆก่อนไปดูของจริงอีกที ช่วยประหยัดเวล่ได้มากครับ

ว่าด้วยเรื่องระบบสำนักในสมัยก่อนของไทย
นั่งดูสัมภาษณ์ขุนอิน ระนาดเอก แล้วจะว่าไป ระบบสำนักของไทย ก็คล้ายๆระบบกงสีของจีนเหมือนกันนะ ระบบสำนักของไทย อย่างสำนักปี่พาทย์ จะมีอาจารย์ใหญ่ที่เรียกว่าเจ้าสำนัก ซึ่งจะรับลูกศิษย์ที่อยากเรียนดนตรีมาเรียนกินนอนที่สำนักตั้งแต่เด็ก โดยไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียน เรียกได้ว่า เรียนฟรี กินฟรี อยู่ฟรี แต่ก็ต้องซ้อมดนตรีและทำงานอยู่ในสำนัก พอมีงานแสดง ไม่ว่าจะงานศพ หรืองานอะไรก็ตาม เจ้าสำนักก็จะเป็นคนจัดสรรว่าใครได้ไปเล่นงานไหน ถ้าสำนักมีคนเยอะก็รับทีหลายๆงานได้ แบ่งกันไปคนละงาน ถ้าคนน้อยงานนึงก็ต้องไปกันทั้งสำนัก พอแสดงได้เงินมา เจ้าสำนักก็จะเอามาแบ่งให้กับลูกศิษย์ ส่วนที่เหลือจะเก็บเข้ากองกลาง ไว้เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากิน ค่าอยู่ ของคนในสำนัก ลูกศิษย์คนไหนเก่งๆ เริ่มมีชื่อเสียง ก็จะออกไปตั้งสำนักของตัวเอง รับลูกศิษย์เอง หรือไม่ก็ออกไปเป็นศิลปินเดี่ยว รับงานเป็นจ็อบๆไป ใครเก่งๆก็ออกไปตั้งสำนักตัวเองตั้งแต่หนุ่มๆ แต่ถ้าคนไหนไม่ค่อยเก่ง ก็จะกินอยู่ในสำนักยันแก่ หรือจนตายคาสำนักหรือใครเก่งมากๆก็จะเป็นทายาทสืบทอดเจ้าสำนักรุ่นต่อไป แต่ส่วนมากคนสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักมักเป็นลูกหลานสายตรงของเจ้าสำนักคนก่อนซะมากกว่า