รีวิวเรียนนิติราม ภาคพิเศษ ส-อา หลังจากเรียนไป 3 สัปดาห์ การเรียนไม่มีอะไรมาก เหมือนกันเรียนสมัยก่อนทั่วไป ตึกเก่า พื้นปูกระเบื้องยาง สลับหินอ่อนตามสมัยนิยมช่วงปี 2520-2530 เข้าใจว่าหลังๆย้ายไปบางนา เลยไม่ได้ปรับปรุงห้องและอาหารเท่าไรนัก โต๊ะก็โต๊ะยาวไม้แบบสมัยก่อน ไม่มีที่เสียบปลั๊กแบบโต๊ะสมัยใหม่ การเรียนก็เป็นสไลด์บ้าง เป็นปิ้งหนังสือบ้าง ปริ้นสไลด์มาปิ้งบ้าง ส่วนคนเรียนช่วงแรกๆใช้ ipad เยอะ แต่หลังๆมาเริ่มเปลี่ยนเป็นสมุดจด อาจเพราะไม่มีที่ซ๊าต + ข้อสอบเป็นอัตนัยทั้งหมด ทำให้การเขียนทำให้คุ้นชินกับการทำข้อสอบได้มากกว่า การสอบก็เรียนจบ 1 วิชา เสร็จแล้วก็สอบเลย ไล่ไปเรื่อยๆทีละวิชา ในส่วนของ profile ของคนที่มาเรียนนั้นน่าสนใจกว่า เพราะราวๆ 20-30% เป็นเด็กอายุไม่เกิน 20 อายุน้อยสุดพึ่งจะ 16 (สอบ GED แล้วมาต่อ ป.ตรีเลย)…
Category: ทักษะชีวิต/ความรู้รอบตัว
11 ข้อเตือนใจ ที่คนรุ่นก่อนอยากฝากถึงคนอายุ 20-40 ปี
เคยมีคนบอกว่า เราทุกคนมี time machine ของตัวเอง นั่นก็คือ ถ้าอยากรู้ว่าอนาคตของตัวเองจะเป็นยังไง ให้ไปดูคนที่ใช้ชีวิตเหมือนกับเราก่อนหน้าเราไปสัก 20 ปี แบะแน่นอนว่าถ้าเราไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไร คนนั้นแหละคือนาคตของเราในอีก 20 ปี ข้างหน้า แล้วก็มีโพสต์ใน facebook โพสต์นึง ว่าคนอายุ 50 60 70 มีอะไรอยากบอกอยากเตือนคนอายุ 38 ดังนั้นนี่จึงเป็นข้อเตือนใจที่ดี เป็นคำเตือนจากอนาคต ที่ไม่ให้เราผิดพลาดซ้ำเหมือนคนรุ่นก่อนหน้า เหมือนมี time machine ส่วนตัว มาบอกอนาคตให้กับเรานั่นเอง 1.รักษาสุขภาพ ทุกๆคนจะเตือนเกี่ยวกับร่างกายและสุขภาพเอาไว้เยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องกิน มีคนนึงพูดได้กินใจมากว่า “ให้กินอาหารเป็นยา เพื่ออนาคตจะได้ไม่ต้องกินยาเป็นอาหาร” ดูแลสุขภาพให้ดี มองโลกในมุมที่สร้างสรรค์และเป็นไปได้จริง เพราะต่อให้มีเงินเท่าไหร่ถ้าสุขภาพไม่ดีก็ไม่มีความสุข ตั้งใจทำงาน วางแผนการเงิน ดูแลสุขภาพและความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้ดีๆ 2.ครอบครัวสำคัญที่สุด…
ผักบุ้งสีตกกินได้ไหม เกิดจากอะไร
พอดีวันนี้เห็นเพจหมอแลบแพนด้า พูดเรื่องผักบุ้งสีตก ขออธิบายสักหน่อยครับ เวลาเราไปกินก๊วยเตี๋ยว เราคงเคยเจอเหตุการณ์นี้บ่อยๆ ผมเองก็เจอบ่อยๆเหมือนกัน นั่นคือ สีของผักมันไม่เท่ากัน เหมือนกันเวลาเราซักผ้าแล้วสีตก มันก็อดคิดไม่ได้ว่าผักเนี่ยมันย้อมสีผสมอาหารมาหรือเปล่า สีถึงได้ตกแบบนี้ จริงๆ แล้วไม่ใช่นะครับ ไม่ได้ใส่สีผสมอาหารอะไรหรอก เรื่องนี้มันเกิดจากในพืชผักที่มีสีเขียว จะมีสารตัวนึงชื่อ คลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารที่มีสีเขียว แล้วสารตัวนี้ มันก็มีหลายตัว (ซึ่งมีสีเขียวเข้มอ่อนต่างกัน) มีทั้งที่ละลายได้ในน้ำและน้ำมัน พอความสามารถในการละลายมันไม่เท่ากัน เวลามันเจอน้ำหรือน้ำมัน มันเลยละลายออกมาได้ไม่เท่ากัน ก็เลยเหมือนกับสีมันตกออกมานั่นเอง ซึ่งจริงๆมันก็คือสีตกนั่นแหละ แต่เป็นสีของคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ใช่สีผสมอาหาร และไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใด ทำไมคลอโรฟิลล์ถึงมีสีเขียว? คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) สามารถดูดกลืนแสงได้ดีที่ในช่วงคลื่นแสงสีฟ้าและแสงสีแดง แต่สามารถดูดกลืนช่วงคลื่นแสงสีเหลืองและแสงสีเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงเอาไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ถูกดูดกลืนจึงได้สะท้อนออกมาเป็นแสงสีเขียว ทำให้เราเห็นคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นสีเขียว ลองดูภาพ Spectrum การดูดกลืนแสงของคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ประกอบครับ…
ปลานิล ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ จริงไหม?
ในเหล่าบรรดาปลา Alien species ทั้งหมด ปลานิลดูจะเป็นปลาชนิดเดียว ที่ดูจะเป็นผู้ร้ายน้อยที่สุด ทั้งๆที่ทุกคนต่างก็ยอมรับว่ามันเป็น Alien species อาจเป็นเพราะมันเป็นปลาที่หาง่าย เนื้ออร่อย และสร้างผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยมหาศาล ด้วยมูลค่าการส่งออกที่สูงลิ่ว จนหลายมองว่ามันมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย และมองข้ามผลกระทบต่อระบบนิเวศไป แต่ถ้าเรามาโฟกัสกันที่ผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างเดียวล่ะ ปลานิลจะสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศมากน้อยขนาดไหน จะเหมือนปลาดุกบิ๊กอุยที่กำลังมีประเด็นดราม่ากันอยู่ไหม หรือว่าเหมือนปลาซัคเกอร์ที่เคยปวดหัวกันถึงขั้น ต้องระดมสมองใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างเมนูมาเพื่อช่วยกันกินลดจำนวนมันโดยเฉพาะ อันที่จริงแล้ว นักอนุรักษ์ก็เถียงกันมานานครับว่า จริงๆปลานิลมันสร้างผลเสียต่อระบบนิเวศมากน้อยขนาดไหน ดังนี้ ปลานิลเป็นปลาที่หากินเก่ง และขยายพันธ์ุได้ดี แต่ไม่ได้กินปลาท้องถิ่นแบบเฉพาะเจาะลง คือมันทำลายระบบนิเวศด้วยการแย่งอาหารปลาท้องถิ่น ซึ่งปลานิลมันก็กินเก่งและเพิ่มจำนวนไว เป็นไปได้ว่าปลาท้องถิ่นที่กินอาหารคล้ายๆปลานิลจะได้รับผลกระทบ จากการขาดอาหารที่โดนปลานิลแย่ง ปลานิลเข้ามาในไทย 50 ปีแล้ว ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้จักคำว่า alien species ทำให้ไม่ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบของปลานิลในช่วงแรกๆที่เข้ามาเลย การมาศึกษาตอนนี้ก็ยากแล้ว เพราะมันเป็นส่วนนึงของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศใหม่ไปแล้ว การที่ปลานิล ไม่ได้ทำลายปลาท้องถื่นแบบเฉพาะเจาะจง ทำให้การทดลองโดยการนำปลาท้องถิ่นชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นตัวแทนที่ใช้ในการศึกษายาก และการลดลงของปลาท้องถื่นทั้งหมด ก็ยากจะบอกว่ามาจากปลานิลหรือมาจากส่วนประกอบอื่นด้วย…
ผัดวันประกันพรุ่ง แก่นแห่งการทำลายความสำเร็จ ที่ซ่อนอยู่ภายใต้วิวัฒนาการ
เคยสงสัยไหมครับ ทำไมคนเราถึงชอบผัดวันประกันพรุ่งนัก ทั้งๆที่ มันไม่เห็นจะมีข้อดีตรงไหนเลย ผัดวันประกันพรุ่ง แก่นแห่งวิวัฒนาการ จริงๆ การผัดวันประกันพรุ่งเนี่ย มันอยู่ในสันดานของมนุษย์เราครับ การที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ เราต้องเข้าใจวิวัฒนาการของสมองของเราก่อน เมื่อ 400 ร้อยล้านปีก่อน เมื่อสัตว์บกตัวแรกถือกำเนิด เป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สมองของสัตว์พวกนี้ ส่วนใหญ่แล้วมีแต่ส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับการดำรงชีพพื้นฐานและเอาตัวรอด ควบคุมพวกการหายใจ การสูบฉีดเลือดและระบบไหลเวียนโลหิต สมดุลของอุณหภูมิร่างกาย และถึงแม้ว่าเราจะวิวัฒนาการมาจนเป็นมนุษย์แล้ว สมองส่วนนี้ก็ยังอยู่กับเราในส่วนลึกสุดของสมอง พอดีกับด้านบนของไขสันหลังของเรา เราเรียกสมองส่วนนี้ว่า reptilian brain ทำหน้าที่ในการควบคุมสัญญาณชีพต่างๆ ถ้าสมองส่วนนี้ทำงานได้ดี เราก็มีชีวิตปกติ แต่ถ้ามันมีปัญหาเมื่อไร นั่นหมายถึงชีวิตเรา ต่อมา 250 ล้านปีที่แล้ว สิ่งมีชีวิตต่างๆวิวัฒนาการสูงขึ้น มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็มีการพัฒนาสมองส่วน limbic system สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และสัญชาตญาณดิบต่างๆ เหมือนสัตว์ป่า ควบคุมความหิว การนอน ความต้องการทางเพศ และอารมณ์…