ผมเป็นคนแรกๆ น่าจะตั้งแต่ปี 2556 ที่ออกมาพูดเรื่องปัญหา aging society จนปี 2559 ได้เริ่มทำเพจ tobepharmacist ก็พูดถึงปัญหานี้มาตลอด จนคนเริ่มตระหนักและออกมาพูดกันมากขึ้นก็คือปี 2561 ก็ดีใจ (ก่อนหน้านี้ยังงงๆกันอยู่เลยว่ามันเป็นปัญหาอะไร หรือไม่น่าใช่ปัญหาใหญ่โตอะไร) แต่ก็ไม่เคยเห็นออกมาตรการอะไรเป็นรูปเป็นร่างเพื่อแก้ปัญหา จนถึงวันนี้ ก็เหมือนยังไม่เข้าใจกันจริงๆ ก็เกาไม่ถูกที่คันกันซะที ปัญหา aging society เมืองไทย ไม่เหมือนที่อื่นบนโลก เพราะยุโรป ปัญหาหลักเกิดจากคนแก่อายุยืนขึ้นมาก แต่เมืองไทย คนแก่ไม่ได้อายุยืนขึ้นขนาดนั้น ปัญหาของเมืองไทย คล้ายๆกับญี่ปุ่นคือ เด็กเกิดน้อยลงมากต่างหาก ซึ่ง aging จากสาเหตุนี้ รุนแรงกว่า aging จากการที่คนแก่อายุยืนขึ้นมากๆ และจะไปใช้ตำรายุโรปมาแก้ปัญหาเดียวกันนี้ไม่ได้ แต่เราก็มีจุดพิเศษที่น่าปวดหัวกว่าญี่ปุ่นคือ แม้ว่าคนไทยจะอายุยืนขึ้น แต่ช่วงระยะเวลาที่แข็งแรง ไม่ได้เพิ่ม คือตายช้าลงก็จริง แต่เวลาที่เพิ่มขึ้น…
Category: สังคม


สังคมกำลังบอกอะไรเรา เมื่อเกิดเหตุการณ์ ยื่น Port เข้าคณะแพทย์ต้องมี Paper ตีพิมพ์
บอกตรงๆ ผมเองก็พึ่งทราบเหมือนกัน ว่าสมัยนี้ถ้าเราจะเข้ามหาลัย มันจะมีรอบที่ไม่ต้องสอบ เรียกว่ารอบ Port ก็คือยื่น Portfolio แล้วเข้าได้เลย การพิจารณาก็จะดูจากผลงานพอร์ตนั่นแหละ แต่ส่วนใหญก็จะมีการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ซึ่งคณะแพทย์บางแห่ง ก็มีกฎว่า ถ้าจะมีคุณสมบัติที่จะยื่นเข้ารอบนี้ด้วย ต้องมีผลงานวิจัยทางวิชาการ โดยเฉพาะงานวิชาการด้านการแพทย์ ตีพิมพ์ลง Paper ด้วย ซึ่งเอาจริงๆ มองผิวเผินมันก็เหมือนกับต้องการคัดเด็กอัจฉริยะด้านการแพทย์ ที่มีผลงานทางวิชาการถึงขั้นลง Paper งานวิจัยแต่ตั้งแต่มัธยม แต่ว่าในความจริงมีเด็กมัธยมสักกี่คนที่ทำแบบนั้นได้ มันเลยเกิดโรงเรียนแบบใหม่ที่สอนคอร์สเพื่อฝึกให้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการโดยเฉพาะ แล้วก็นำมาสู้ประเด็นดราม่า ดังรูป พูดกันตามตรง นี่ไม่ใช่ครั้งแรก หรือครั้งแรกของเมืองไทย ที่มีการออกกฎเพื่อให้ privilege หรือสิทธิพิเศษแก่คนกลุ่มใดกลุ่มนึง และอันที่จริง มีแบบนี้ในทุกวงการด้วย ยกตัวอย่างวงการกฎหมาย ก็มีสอบผู้พิพากษา – อัยการ สนามจิ๋ว สนามเล็กและก็สนามใหญ่ สนามจิ๋วเรียกได้ว่าเป็น privilege สำหรับคนจบนอก…

ว่าด้วยเรื่องระบบสำนักในสมัยก่อนของไทย
นั่งดูสัมภาษณ์ขุนอิน ระนาดเอก แล้วจะว่าไป ระบบสำนักของไทย ก็คล้ายๆระบบกงสีของจีนเหมือนกันนะ ระบบสำนักของไทย อย่างสำนักปี่พาทย์ จะมีอาจารย์ใหญ่ที่เรียกว่าเจ้าสำนัก ซึ่งจะรับลูกศิษย์ที่อยากเรียนดนตรีมาเรียนกินนอนที่สำนักตั้งแต่เด็ก โดยไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียน เรียกได้ว่า เรียนฟรี กินฟรี อยู่ฟรี แต่ก็ต้องซ้อมดนตรีและทำงานอยู่ในสำนัก พอมีงานแสดง ไม่ว่าจะงานศพ หรืองานอะไรก็ตาม เจ้าสำนักก็จะเป็นคนจัดสรรว่าใครได้ไปเล่นงานไหน ถ้าสำนักมีคนเยอะก็รับทีหลายๆงานได้ แบ่งกันไปคนละงาน ถ้าคนน้อยงานนึงก็ต้องไปกันทั้งสำนัก พอแสดงได้เงินมา เจ้าสำนักก็จะเอามาแบ่งให้กับลูกศิษย์ ส่วนที่เหลือจะเก็บเข้ากองกลาง ไว้เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากิน ค่าอยู่ ของคนในสำนัก ลูกศิษย์คนไหนเก่งๆ เริ่มมีชื่อเสียง ก็จะออกไปตั้งสำนักของตัวเอง รับลูกศิษย์เอง หรือไม่ก็ออกไปเป็นศิลปินเดี่ยว รับงานเป็นจ็อบๆไป ใครเก่งๆก็ออกไปตั้งสำนักตัวเองตั้งแต่หนุ่มๆ แต่ถ้าคนไหนไม่ค่อยเก่ง ก็จะกินอยู่ในสำนักยันแก่ หรือจนตายคาสำนักหรือใครเก่งมากๆก็จะเป็นทายาทสืบทอดเจ้าสำนักรุ่นต่อไป แต่ส่วนมากคนสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักมักเป็นลูกหลานสายตรงของเจ้าสำนักคนก่อนซะมากกว่า

การที่ม็อบพ่นสี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิกำลังบอกอะไรเรา
เห็นอะไรในภาพนี้กันบ้างไหมครับ ? มองผิวเผิน ก็เหมือนเด็ก ที่เกลียดชังทหาร กำลังพยายามทำลายสัญลักษณ์แห่งความภูมิใจของคนรุ่นก่อน แต่กับสถานที่นี้ มันมีอะไรมากกว่านั้น จริงๆ สถานที่นี้ เป็นหนึ่งในอีกมรดกของคณะราษฎร ที่ยังหลงเหลืออยู่ ที่ยังไม่ถูกทำลาย โยกย้าย หรือเปลี่ยนชื่อ เหมือนสถานที่อื่นๆที่โดนไปก่อนหน้านี้แล้ว สถานที่นี้ เป็นสถานที่แรกๆ ที่มีการสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อยกย่องสามัญชนคนธรรมดา (ก่อนหน้านี้ มีแต่อนุสาวรีย์ของเจ้านาย หรือขุนนาง) อันที่จริง มันควรจะเป็นสถานที่แห่งความภาคภูมิใจของม็อบครั้งนี้ด้วยซ้ำไป แต่เชื่อเถอะ ผมเชื่อว่า หลายคนที่เกลียดรัฐบาล หรือทหาร ออกจะเฉยๆกับการกระทำแบบนี้ด้วยซ้ำไป มันบอกอะไรเรา ? สิ่งที่รัฐทำ กำลังสร้างความเกลียดชัง ให้ร้าวลึกไปจนถึงรากเหง้า โดยไม่สนใจว่ารากนั้น จะดีหรือเสีย ขอแค่มีสิ่งที่เกลียดผูกติดอยู่ ก็พร้อมจะทำลาย หรือเปล่า หรือนี่เป็นผลสะท้อนกลับจากการที่ผ่านมา เราบิดเบือนประวัติศาสตร์ เพื่อเชิดชู หรือด้อยค่าบุคคล หรือเพื่อสร้างชาติ สร้างความภาคภูมิใจอย่างใดอย่างหนึ่ง…

เราจะแก้ปัญหาการเผาไร่อ้อยได้อย่างไร ในทางเศรษฐศาสตร์
เป็นที่ทราบกันดีกว่า การเผาเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่น pm 2.5 ที่กำลังสร้างปัญหาอยู่ในขณะนี้ และการเผาไร่อ้อยก็เป็นหนุ่งในนั้น คำถามคือ ทำไมต้องเผา และเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร การเผาไร่อ้อย การเผาไร่อ้อยทำเพื่อกำจัดใบอ้อยให้หายไป เพื่อความสะดวกในการตัด ซึ่งจะทำในช่วงฤดูเปิดหีบอ้อย ซึ่งจะกินระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ช่วงประมาณธันวาคม ถึง เมษายน ของทุกปี วิธีการเผานั้นมักเริ่มจากเผาต้นอ้อยรอบแรก เพื่อให้ตัดได้ง่าย จากนั้นก็จะเผาใบอ้อยที่เหลืออีกรอบ แต่หากมีการตัดสดในรอบแรก หลังจากตัดและนำอ้อยออกจากแปลงแล้ว ก็จะมีการเผาเศษใบอ้อยที่เหลือ ยกเว้นบางแปลง จะมีการใช้เครื่องมาม้วนพันใบอ้อยที่เหลือเป็นม้วนขนาดใหญ่ แล้วนำไปขายเพื่อเป็นเชื้อเพลิง การเผาไร่อ้อยก่อนตัดมีข้อดีคือ แรงงานตัดได้ง่าย ประหยัดค่าแรงและเวลา โดยเฉพาะบางแปลงที่ต้องเร่งตัดให้ทันช่วงเวลาหีบอ้อย (อย่าลืมว่าโควต้าเต็มเมื่อไรก็ปิดหีบ ดังนั้นปีไหนที่ผลผลิตเยอะ ก็ต้องเร่งทำเวลา) สามารถตัดได้แม้อ้อยมีปัญหาเจอลมแรงต้นล้มพันกันมากจนรถตัดไม่ได้ สำหรับข้อเสียของการเผาไร่อ้อยก่อนตัดคือ ทำให้เกิดมลภาวะ เกิดฝุ่น pm 2.5…