ในเหล่าบรรดาปลา Alien species ทั้งหมด ปลานิลดูจะเป็นปลาชนิดเดียว ที่ดูจะเป็นผู้ร้ายน้อยที่สุด ทั้งๆที่ทุกคนต่างก็ยอมรับว่ามันเป็น Alien species อาจเป็นเพราะมันเป็นปลาที่หาง่าย เนื้ออร่อย และสร้างผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยมหาศาล ด้วยมูลค่าการส่งออกที่สูงลิ่ว จนหลายมองว่ามันมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย และมองข้ามผลกระทบต่อระบบนิเวศไป แต่ถ้าเรามาโฟกัสกันที่ผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างเดียวล่ะ ปลานิลจะสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศมากน้อยขนาดไหน จะเหมือนปลาดุกบิ๊กอุยที่กำลังมีประเด็นดราม่ากันอยู่ไหม หรือว่าเหมือนปลาซัคเกอร์ที่เคยปวดหัวกันถึงขั้น ต้องระดมสมองใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างเมนูมาเพื่อช่วยกันกินลดจำนวนมันโดยเฉพาะ อันที่จริงแล้ว นักอนุรักษ์ก็เถียงกันมานานครับว่า จริงๆปลานิลมันสร้างผลเสียต่อระบบนิเวศมากน้อยขนาดไหน ดังนี้ ปลานิลเป็นปลาที่หากินเก่ง และขยายพันธ์ุได้ดี แต่ไม่ได้กินปลาท้องถิ่นแบบเฉพาะเจาะลง คือมันทำลายระบบนิเวศด้วยการแย่งอาหารปลาท้องถิ่น ซึ่งปลานิลมันก็กินเก่งและเพิ่มจำนวนไว เป็นไปได้ว่าปลาท้องถิ่นที่กินอาหารคล้ายๆปลานิลจะได้รับผลกระทบ จากการขาดอาหารที่โดนปลานิลแย่ง ปลานิลเข้ามาในไทย 50 ปีแล้ว ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้จักคำว่า alien species ทำให้ไม่ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบของปลานิลในช่วงแรกๆที่เข้ามาเลย การมาศึกษาตอนนี้ก็ยากแล้ว เพราะมันเป็นส่วนนึงของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศใหม่ไปแล้ว การที่ปลานิล ไม่ได้ทำลายปลาท้องถื่นแบบเฉพาะเจาะจง ทำให้การทดลองโดยการนำปลาท้องถิ่นชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นตัวแทนที่ใช้ในการศึกษายาก และการลดลงของปลาท้องถื่นทั้งหมด ก็ยากจะบอกว่ามาจากปลานิลหรือมาจากส่วนประกอบอื่นด้วย (ควบคุมตัวแปรในการศึกษายาก) ยกตัวอย่างง่ายๆ ปลาซัคเกอร์เกอร์กินไข่ปลา ทำให้ปลาท้องถื่นบางชนิดหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ปลานิลไม่ได้เฉพาะเจาะจงแบบนั้น…


เราจะแก้ปัญหาการเผาไร่อ้อยได้อย่างไร ในทางเศรษฐศาสตร์
เป็นที่ทราบกันดีกว่า การเผาเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่น pm 2.5 ที่กำลังสร้างปัญหาอยู่ในขณะนี้ และการเผาไร่อ้อยก็เป็นหนุ่งในนั้น คำถามคือ ทำไมต้องเผา และเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร การเผาไร่อ้อย การเผาไร่อ้อยทำเพื่อกำจัดใบอ้อยให้หายไป เพื่อความสะดวกในการตัด ซึ่งจะทำในช่วงฤดูเปิดหีบอ้อย ซึ่งจะกินระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ช่วงประมาณธันวาคม ถึง เมษายน ของทุกปี วิธีการเผานั้นมักเริ่มจากเผาต้นอ้อยรอบแรก เพื่อให้ตัดได้ง่าย จากนั้นก็จะเผาใบอ้อยที่เหลืออีกรอบ แต่หากมีการตัดสดในรอบแรก หลังจากตัดและนำอ้อยออกจากแปลงแล้ว ก็จะมีการเผาเศษใบอ้อยที่เหลือ ยกเว้นบางแปลง จะมีการใช้เครื่องมาม้วนพันใบอ้อยที่เหลือเป็นม้วนขนาดใหญ่ แล้วนำไปขายเพื่อเป็นเชื้อเพลิง การเผาไร่อ้อยก่อนตัดมีข้อดีคือ แรงงานตัดได้ง่าย ประหยัดค่าแรงและเวลา โดยเฉพาะบางแปลงที่ต้องเร่งตัดให้ทันช่วงเวลาหีบอ้อย (อย่าลืมว่าโควต้าเต็มเมื่อไรก็ปิดหีบ ดังนั้นปีไหนที่ผลผลิตเยอะ ก็ต้องเร่งทำเวลา) สามารถตัดได้แม้อ้อยมีปัญหาเจอลมแรงต้นล้มพันกันมากจนรถตัดไม่ได้ สำหรับข้อเสียของการเผาไร่อ้อยก่อนตัดคือ ทำให้เกิดมลภาวะ เกิดฝุ่น pm 2.5 ได้อ้อยที่มีน้ำหนักน้อย ค่าความหวานลดลง ทำให้ขายได้ราคาน้อยลง รายได้ลด ทำให้อินทรีวัตถุในดินน้อยลง…

อธิบายกลไกการเกิดโรคซึมเศร้าแบบรวบรัดเข้าใจง่ายๆ 5 นาที
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า โรคซึมเศร้า กับ อาการซึมเศร้า นั้นไม่เหมือนกัน อาการซึมเศร้า คือ การที่เรารู้สึกเศร้า แต่พอเวลาผ่านไป เราจะค่อยๆดีขึ้นด้วยตัวเอง แต่โรคซึมเศร้าเกิดจากการที่สารสื่อประสาทในสมองมันผิดปกติ ทำให้ ไม่ว่าจะทำอะไรก็รู้สึกไม่มีความสุข รู้สึกไร้คุณค่า ไร้ความหมาย เกิดขึ้นได้อย่างไร? โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งการที่สารสื่อประสาทเราผิดปกติเนี่ย ก็อาจเกิดจากการเผชิญความเครียดความกดดันเป็นเวลานาน โรคเรื้อรังที่เป็น บุคลิกลักษณะนิสัยส่วนตัวที่ทำให้เครียดหรือผิดหวังได้ง่าย การใช้ยาหรือสารเสพติดบางชนิดรวมถึงแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่กรรมพันธุ์ แต่ทั้งหมดทั้งมวลแล้ว ไม่ว่าต้นตอจะมาจากอะไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันคือ มันทำให้สารสื่อประสาทในสมองเกิดความผิดปกติ คนเป็นโรคซึมเศร้า จะสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทในสมอง 3 ตัว คือ Serotonin, Dopamine และ Norepinephrine โดยมักสัมพันธ์กับการลดลงของ Serotonin และ Dopamine ในสมอง ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทแห่งความสุขทั้งคู่ ต้องเข้าใจก่อนว่าสารแห่งความสุขในร่างกายมีหลายตัว แต่จะให้ความสุขในรูปแบบที่แตกต่างกัน serotonin จะสุขแบบ รู้สึกดี มีคุณค่า มีความหมาย เป็นคนสำคัญ…

ผัดวันประกันพรุ่ง แก่นแห่งการทำลายความสำเร็จ ที่ซ่อนอยู่ภายใต้วิวัฒนาการ
เคยสงสัยไหมครับ ทำไมคนเราถึงชอบผัดวันประกันพรุ่งนัก ทั้งๆที่ มันไม่เห็นจะมีข้อดีตรงไหนเลย ผัดวันประกันพรุ่ง แก่นแห่งวิวัฒนาการ จริงๆ การผัดวันประกันพรุ่งเนี่ย มันอยู่ในสันดานของมนุษย์เราครับ การที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ เราต้องเข้าใจวิวัฒนาการของสมองของเราก่อน เมื่อ 400 ร้อยล้านปีก่อน เมื่อสัตว์บกตัวแรกถือกำเนิด เป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สมองของสัตว์พวกนี้ ส่วนใหญ่แล้วมีแต่ส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับการดำรงชีพพื้นฐานและเอาตัวรอด ควบคุมพวกการหายใจ การสูบฉีดเลือดและระบบไหลเวียนโลหิต สมดุลของอุณหภูมิร่างกาย และถึงแม้ว่าเราจะวิวัฒนาการมาจนเป็นมนุษย์แล้ว สมองส่วนนี้ก็ยังอยู่กับเราในส่วนลึกสุดของสมอง พอดีกับด้านบนของไขสันหลังของเรา เราเรียกสมองส่วนนี้ว่า reptilian brain ทำหน้าที่ในการควบคุมสัญญาณชีพต่างๆ ถ้าสมองส่วนนี้ทำงานได้ดี เราก็มีชีวิตปกติ แต่ถ้ามันมีปัญหาเมื่อไร นั่นหมายถึงชีวิตเรา ต่อมา 250 ล้านปีที่แล้ว สิ่งมีชีวิตต่างๆวิวัฒนาการสูงขึ้น มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ก็มีการพัฒนาสมองส่วน limbic system สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และสัญชาตญาณดิบต่างๆ เหมือนสัตว์ป่า ควบคุมความหิว การนอน ความต้องการทางเพศ และอารมณ์ โดยเฉพาะพวกอารมณ์ดิบต่างๆ เช่น ความกลัว ความโกรธ ความหึงหวง…

ย้อนอดีตถึง 3 ก๊ก เมื่อซาอุตัดหัวฆาตกรฆ่า Khashoggi
หลังจากมีข่าวฆาตกรรมคอลัมนิสต์ชาวซาอุดิอาระเบียชื่อ Jamal Khashoggi ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ซาอุอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน หลายฝ่ายก็เชื่อกันว่าผู้อยู่เบื้องหลังคือรัฐบาลซาอุ ล่าสุดผู้ทำการแทนอัยการสูงสุดแห่งราชอาณาจักร Shalaan al-Shalaan เปิดเผยว่าใน 21 คน ที่ทำการควบคุม มีคนที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าและถูกนำตัวมาดำเนินคดี 11 คน และ al-Shalaan ได้ร้องขอให้ทำการลงโทษประหารชีวิตผู้สั่งการ 5 คน ส่วนคนอื่นๆจะมีการฟ้องร้องและลงโทษเป็นรายบุคคล ดูผิวเผิน ก็เหมือนคดีธรรมดาทั่วไป ที่มีการจับผู้กระทำมาลงโทษ อีกทั้งรัฐบาลซาอุ ก็ยังทำการสืบสวนและดำเนินคดีได้ค่อนข้างไว แต่บางคนก็ตั้งข้อสงสัยว่า การกระทำดังกล่าวทำให้เจ้าชาย Mohammed bin Salman พ้นจากข้อกล่าวหา โดยมีการกล่าวโทษไปที่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย 2 คนแทน ปล.การประหารชีวิตในซาอุดิอาระเบียมักใช้วิธีตัดหัวด้วยดาบ อ่านเพิ่มเติม Saudi Arabia will BEHEAD Khashoggi killers อดีตที่ต้องเรียนรู้ กับการตายเพื่อนาย จะว่าไป นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเหตุกา่รณ์คล้ายๆแบบนี้ขึ้นบนโลก มันถูกเกิดขึ้นซ้ำเป็นร้อยๆครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ และอีกนับครั้งไม่ถ้วนที่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ อย่างใน 3 ก๊ก…