ปลานิล ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ จริงไหม?

ในเหล่าบรรดาปลา Alien species ทั้งหมด ปลานิลดูจะเป็นปลาชนิดเดียว ที่ดูจะเป็นผู้ร้ายน้อยที่สุด ทั้งๆที่ทุกคนต่างก็ยอมรับว่ามันเป็น Alien species อาจเป็นเพราะมันเป็นปลาที่หาง่าย เนื้ออร่อย และสร้างผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยมหาศาล ด้วยมูลค่าการส่งออกที่สูงลิ่ว จนหลายมองว่ามันมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย และมองข้ามผลกระทบต่อระบบนิเวศไป แต่ถ้าเรามาโฟกัสกันที่ผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างเดียวล่ะ ปลานิลจะสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศมากน้อยขนาดไหน จะเหมือนปลาดุกบิ๊กอุยที่กำลังมีประเด็นดราม่ากันอยู่ไหม หรือว่าเหมือนปลาซัคเกอร์ที่เคยปวดหัวกันถึงขั้น ต้องระดมสมองใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างเมนูมาเพื่อช่วยกันกินลดจำนวนมันโดยเฉพาะ อันที่จริงแล้ว นักอนุรักษ์ก็เถียงกันมานานครับว่า จริงๆปลานิลมันสร้างผลเสียต่อระบบนิเวศมากน้อยขนาดไหน ดังนี้ ปลานิลเป็นปลาที่หากินเก่ง และขยายพันธ์ุได้ดี แต่ไม่ได้กินปลาท้องถิ่นแบบเฉพาะเจาะลง คือมันทำลายระบบนิเวศด้วยการแย่งอาหารปลาท้องถิ่น ซึ่งปลานิลมันก็กินเก่งและเพิ่มจำนวนไว เป็นไปได้ว่าปลาท้องถิ่นที่กินอาหารคล้ายๆปลานิลจะได้รับผลกระทบ จากการขาดอาหารที่โดนปลานิลแย่ง ปลานิลเข้ามาในไทย 50 ปีแล้ว ซึ่งตอนนั้นยังไม่รู้จักคำว่า alien species ทำให้ไม่ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบของปลานิลในช่วงแรกๆที่เข้ามาเลย การมาศึกษาตอนนี้ก็ยากแล้ว เพราะมันเป็นส่วนนึงของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศใหม่ไปแล้ว การที่ปลานิล ไม่ได้ทำลายปลาท้องถื่นแบบเฉพาะเจาะจง ทำให้การทดลองโดยการนำปลาท้องถิ่นชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นตัวแทนที่ใช้ในการศึกษายาก และการลดลงของปลาท้องถื่นทั้งหมด ก็ยากจะบอกว่ามาจากปลานิลหรือมาจากส่วนประกอบอื่นด้วย…

FAS หน่วยสืบราชการลับแห่งวงการเกษตรอเมริกา

ในเมืองไทย อาชีพเกษตรกร ถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ยากจน แต่ที่อเมริกา เกษตรกรคืออาชีพทำเงินอาชีพหนึ่งเลยทีเดียว มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกร 2 ประเทศนี้แตกต่างกัน หนึ่งในปัจจัยนั้นคือการสนับสนุนจากภาครัฐ อันที่จริง ไทยเองก็มีการสนับสนุนจากภาครัฐไม่ได้น้อย เพียงแต่ว่าแนวคิด ระบบการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานนั้น ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ส่วนนึงก็ต้องโทษความล้มเหลวของระบบราชการไทย อีกส่วนนึงก็มาจากธรรมชาติของระบบการเกษตรบ้านเราด้วย ยกตัวอย่างเช่น บ้านเรามีเกษตรกร 25% อเมริกามี 3% ของจำนวนประชากร เกษตรกรอเมริกามีความรู้ มีเทคโนโลยี เหนือกว่าเกษตรกรไทยมาก เกษตรกรอเมริกามีที่ดิน และเงินทุนจำนวนมาก ซึ่งเทียบกันแล้วก็ระดับเดียวกับนายหัวหรือพ่อเลี้ยงของไทยเลยทีเดียว เมืองไทย ใครใคร่ปลูกอะไร ตรงไหน ขอเป็นที่ดินของตัวเองก็ทำได้ ของอเมริกาใครจะเป็นเกษตรกรได้ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนจากภาครัฐเท่านั้น ไม่ใช่ใครอยากเป็นก็เป็นได้ (ไม่มีแบบหยุดงาน ตกงาน แล้วทำไร่ไถนาไปพลางๆแบบไทยนะ) นอกจากนี้ รัฐบาลจะเป็นคนกำหนดพื้นที่และประเภทของสินค้าเกษตร ว่าบริเวณไหน ต้องปลูกอะไร ปริมาณเท่าไร จะปลูกตามใจชอบไม่ได้ จึงสามารถควบคุมชนิดและปริมาณของผลผลิตได้ชัดเจน…