ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาที่รัฐบาลไทยยังตระหนักน้อยกว่าความจริงไปมาก

ผมเป็นคนแรกๆ น่าจะตั้งแต่ปี 2556 ที่ออกมาพูดเรื่องปัญหา aging society จนปี 2559 ได้เริ่มทำเพจ tobepharmacist ก็พูดถึงปัญหานี้มาตลอด จนคนเริ่มตระหนักและออกมาพูดกันมากขึ้นก็คือปี 2561 ก็ดีใจ (ก่อนหน้านี้ยังงงๆกันอยู่เลยว่ามันเป็นปัญหาอะไร หรือไม่น่าใช่ปัญหาใหญ่โตอะไร) แต่ก็ไม่เคยเห็นออกมาตรการอะไรเป็นรูปเป็นร่างเพื่อแก้ปัญหา จนถึงวันนี้ ก็เหมือนยังไม่เข้าใจกันจริงๆ ก็เกาไม่ถูกที่คันกันซะที ปัญหา aging society เมืองไทย ไม่เหมือนที่อื่นบนโลก เพราะยุโรป ปัญหาหลักเกิดจากคนแก่อายุยืนขึ้นมาก แต่เมืองไทย คนแก่ไม่ได้อายุยืนขึ้นขนาดนั้น ปัญหาของเมืองไทย คล้ายๆกับญี่ปุ่นคือ เด็กเกิดน้อยลงมากต่างหาก ซึ่ง aging จากสาเหตุนี้ รุนแรงกว่า aging จากการที่คนแก่อายุยืนขึ้นมากๆ และจะไปใช้ตำรายุโรปมาแก้ปัญหาเดียวกันนี้ไม่ได้ แต่เราก็มีจุดพิเศษที่น่าปวดหัวกว่าญี่ปุ่นคือ แม้ว่าคนไทยจะอายุยืนขึ้น แต่ช่วงระยะเวลาที่แข็งแรง ไม่ได้เพิ่ม คือตายช้าลงก็จริง แต่เวลาที่เพิ่มขึ้น…

ฆ่าตัวตายพุ่งสูง ฤาเป็นเพราะไทยกำลังแก่ชรา

ประเทศในเอเชียหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไปก่อนไทย อาทิเช่น ญี่ปุ่น, เกาหลี, สิงคโปร์ ล้วนมีอัตราฆ่าตัวตายที่สูงทั้งนั้น และยิ่งอายุเฉลี่ยในประเทศมาก อัตราการฆ่าตัวตายก็ยิ่งสูง ในอดีตที่ผ่านมา เราเชื่อว่าปัญหาเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้คนเกิดความเครียดและฆ่าตัวตาย ซึ่งตัวเลขในอดีตก็เป็นเช่นนั้น ในอดีตที่ผ่านมา เมืองไทยเคยมีอัตราการฆ่าตัวตายต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 5 คน ต่อประชากร 1 แสนคน และสูงสุดอยู่ที่ 8.59 ต่อประชากร 1 แสน ในปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้งที่เศรษฐกิจไทยกำลังทรุดหนัก หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัว ตัวเลขการฆ่าตัวตายก็ลดลงตามลำดับ แต่ว่าเมื่อประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2553 อัตราการฆ่าตัวตายก็ทยอยพุ่งสูงขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเหมือนกับประเทศอื่นๆในเอเชียที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนเรา และล่าสุด ตอนนี้อัตราการฆ่าตัวตายเราแซงช่วงวิฤตต้มยำกุ้งไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายเขตพื้นที่แล้ว ยังพบความสัมพันธ์กับอายุนั่นคือ เขตสุขภาพที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน…