หลายๆคนที่อยู่ในวงการ Startup คงรู้จัก Co-working Space กันเป็นอย่างดีแล้ว แต่สำหรับคนไม่รู้จัก Co-working Space ก็คือสถานที่ทำงาน คล้ายๆ office นั่นแหละครับ เพียงแต่ว่า startup ส่วนใหญ่ก็เริ่มจากไอเดียดีๆ กับคอมพิวเตอร์สักตัว จะให้ไปเช่า office สร้างสำนักงานเลยก็คงไม่ไหว ครั้นจะทำอยู่ห้อง บรรยากาศก็ไม่เป็นใจ ชวนให้นอนซะมากกว่าทำงาน หรือจะไปนั่งทำร้านกาแฟ ไปนั่งนานๆ ทำทุกๆวันก็คงโดนเจ้าของร้านค้อนมาบ้าง ยิ่งมีทีมไปทำกันหลายๆคน หรือมีอุปกรณ์ที่ต้องมานั่งโมกันสักหน่อยระหว่างทำงาน จะไปนั่งร้านกาแฟก็คงไม่เหมาะ Co-working Space จึงเป็นสถานที่ทำงานที่เป็นเหมือน office ของเหล่า Startup มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานอย่างครบครัน แต่พื้นที่ทำงานนี้เป็นพื้นที่ส่วนรวม ทำให้ค่าใช้บริการนั้นถูกกว่าเราไปเช่า office เองมาก และการที่มันเป็นพื้นที่ส่วนรวม ทำให้เหล่า startup เกิดการแชร์ไอเดีย ทักษะ และประสบการณ์ให้แก่กันอีกด้วย ซึ่งจริงๆแล้ว Co-working Space ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะ Startup จะเป็น freelance หรือคนที่อยากพื้นที่นั่งทำงานก็ได้
สำหรับ Co-working Space ในไทยนั้นมีมากมายหลายที่ และในช่วงปี 2014-2016 นี้ มี Co-working Space เกิดขึ้นเยอะมากเป็นประวัติการณ์ แต่ Co-working Space ที่เก่าแก่ และมีชื่อเสียงสักหน่อยก็จะมี Hubba หรือถ้าใครเป็นสาย hardware โหดๆหน่อย ก็จะมี Makerspace ที่เชียงใหม่
สำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง Co-working Space สามารถอ่านเพิ่มเติมได้โดยคลิกที่นี่
อย่างไรก็ดี แม้ Co-working Space จะมีข้อดีหลายอย่าง แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดอยู่ เช่น ถ้าคุณต้องการพื้นที่ปริมาณมาก อย่างงานสร้าง Hardware ชิ้นใหญ่สักชิ้น หรือสาย Maker ที่ไอเดียจะแล่นตอนดึกๆหลังตี 2 หรืองานที่ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานเยอะๆ เช่น super high-speed internet high-end graphic high-end computer PC การใช้ Co-working Space จึงไม่เหมาะ แต่อย่างไรก็ตาม การสร้างนวัตกรรมหลายๆอย่างก็จำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้ แต่ก็ต้องการความเป็น community แบบ Co-working Space ด้วย จึงทำให้เกิด Co-living (for working) Space ขึ้นมา ดังที่เราจะได้ยินคำว่า หมู่บ้าน Startup หรือชุมชนนวัตกรรม อะไรทำนองนี้ในต่างประเทศ ซึ่ง Co-living Space จัดเป็น Co-working Space รูปแบบหนึ่ง แต่จะเป็นอะไรที่ Hardcore กว่า เพราะจะมีกินนอนอยู่ใน Co-living Space เลย ลักษณะจะเป็นบ้านพักที่มาทำงานร่วมกันกับทีมได้ตลอด 24 ชม.
ลองคิดดูสิครับว่า ถ้าคุณมีสถานที่ทำงานที่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชม. ทำกับข้าวกินกันเองได้ จัดงานปาร์ตี้เล็กๆด้วยกันได้ มีพื้นที่สาธารณะ มีสวนร่มรื่น มีสระว่ายน้ำ อยู่ใกล้ร้านกาแฟ และบาร์ มันจะดีขนาดไหน อย่างไรก็ตาม Co-living Space ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง เช่น เสียความเป็นส่วนตัว และยังสู้ Co-working Space แบบดั้งเดิมไม่ได้ตรงที่ การย้ายที่ทำงานหรือเปลี่ยนที่การทำงานในแต่ละครั้ง สามารถทำได้ไม่สะดวกเท่า
สำหรับในประเทศไทยนั้น มีความพยายามที่จะสร้างย่านนวัตกรรม (Innovation District) โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ซึ่งมีองค์ประกอบหลากหลาย(เช่น ผู้สร้างองค์ความความรู้ ผู้สร้างสรรค์ ผู้ทดสอบการใช้งาน)ที่ช่วยส่งเสริมในการสร้างนวัตกรรม คล้ายๆกับโมเดล silicon valley ของอเมริกา และสามารถรองรับ Startup ประเภท Hardcore Technology ได้ สำหรับรายละเอียดเรื่องย่านนวัตกรรม (Innovation District) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้โดยคลิกที่นี่ และในย่านนวัตกรรม ก็ประกอบไปด้วย Startup Village ของ ม.มหิดลด้วย สำหรับใครที่สนใจจะไปอยู่ใน Startup Village ของ ม.มหิดล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้โดยคลิกที่นี่ครับ
ขอบคุณรูปภาพและเนื้อหาบางส่วนจาก Teerakiat Kerdcharoen
URL รูปภาพ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1471096176252133&set=a.1325933184101767.1073741868.100000552957076&type=3&theater
Share this: