ผักบุ้งสีตกกินได้ไหม เกิดจากอะไร

พอดีวันนี้เห็นเพจหมอแลบแพนด้า พูดเรื่องผักบุ้งสีตก ขออธิบายสักหน่อยครับ

เวลาเราไปกินก๊วยเตี๋ยว เราคงเคยเจอเหตุการณ์นี้บ่อยๆ ผมเองก็เจอบ่อยๆเหมือนกัน นั่นคือ สีของผักมันไม่เท่ากัน เหมือนกันเวลาเราซักผ้าแล้วสีตก มันก็อดคิดไม่ได้ว่าผักเนี่ยมันย้อมสีผสมอาหารมาหรือเปล่า สีถึงได้ตกแบบนี้

จริงๆ แล้วไม่ใช่นะครับ ไม่ได้ใส่สีผสมอาหารอะไรหรอก เรื่องนี้มันเกิดจากในพืชผักที่มีสีเขียว จะมีสารตัวนึงชื่อ คลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารที่มีสีเขียว แล้วสารตัวนี้ มันก็มีหลายตัว (ซึ่งมีสีเขียวเข้มอ่อนต่างกัน) มีทั้งที่ละลายได้ในน้ำและน้ำมัน พอความสามารถในการละลายมันไม่เท่ากัน เวลามันเจอน้ำหรือน้ำมัน มันเลยละลายออกมาได้ไม่เท่ากัน ก็เลยเหมือนกับสีมันตกออกมานั่นเอง ซึ่งจริงๆมันก็คือสีตกนั่นแหละ แต่เป็นสีของคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ใช่สีผสมอาหาร และไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใด

ทำไมคลอโรฟิลล์ถึงมีสีเขียว?

คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) สามารถดูดกลืนแสงได้ดีที่ในช่วงคลื่นแสงสีฟ้าและแสงสีแดง แต่สามารถดูดกลืนช่วงคลื่นแสงสีเหลืองและแสงสีเขียวได้น้อย ดังนั้นเมื่อได้รับแสงจะดูดกลืนแสงสีฟ้าและสีแดงเอาไว้ ส่วนแสงสีเขียวที่ไม่ได้ถูกดูดกลืนจึงได้สะท้อนออกมาเป็นแสงสีเขียว ทำให้เราเห็นคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นสีเขียว ลองดูภาพ Spectrum การดูดกลืนแสงของคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ประกอบครับ จะเข้าใจมากขึ้น โดยเส้นสีเขียวคือ Chlorophyll a ส่วนสีเขียวอ่อนคือ Chlorophyll b สำหรับสีเหลืองคือ carotenoids ไม่เกี่ยวอะไรกับบทความนี้

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะ Chlorophyll a หรือ Chlorophyll b ก็แทบไม่ดูดกลืนแสงช่วงแสงสีเขียวเลย ทำให้มันสะท้อนสีเขียวออกมาให้ตาเราเห็นนั่นเองครับ

 

ภาพจาก https://www.researchgate.net/figure/Chlorophyll-a-b-and-carotenoids-absorbance-spectra_fig1_317151195

 


Share this:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *