บอกตรงๆ ผมเองก็พึ่งทราบเหมือนกัน ว่าสมัยนี้ถ้าเราจะเข้ามหาลัย มันจะมีรอบที่ไม่ต้องสอบ เรียกว่ารอบ Port ก็คือยื่น Portfolio แล้วเข้าได้เลย การพิจารณาก็จะดูจากผลงานพอร์ตนั่นแหละ แต่ส่วนใหญก็จะมีการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ซึ่งคณะแพทย์บางแห่ง ก็มีกฎว่า ถ้าจะมีคุณสมบัติที่จะยื่นเข้ารอบนี้ด้วย ต้องมีผลงานวิจัยทางวิชาการ โดยเฉพาะงานวิชาการด้านการแพทย์ ตีพิมพ์ลง Paper ด้วย
ซึ่งเอาจริงๆ มองผิวเผินมันก็เหมือนกับต้องการคัดเด็กอัจฉริยะด้านการแพทย์ ที่มีผลงานทางวิชาการถึงขั้นลง Paper งานวิจัยแต่ตั้งแต่มัธยม แต่ว่าในความจริงมีเด็กมัธยมสักกี่คนที่ทำแบบนั้นได้ มันเลยเกิดโรงเรียนแบบใหม่ที่สอนคอร์สเพื่อฝึกให้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการโดยเฉพาะ แล้วก็นำมาสู้ประเด็นดราม่า ดังรูป
พูดกันตามตรง นี่ไม่ใช่ครั้งแรก หรือครั้งแรกของเมืองไทย ที่มีการออกกฎเพื่อให้ privilege หรือสิทธิพิเศษแก่คนกลุ่มใดกลุ่มนึง และอันที่จริง มีแบบนี้ในทุกวงการด้วย
ยกตัวอย่างวงการกฎหมาย ก็มีสอบผู้พิพากษา – อัยการ สนามจิ๋ว สนามเล็กและก็สนามใหญ่ สนามจิ๋วเรียกได้ว่าเป็น privilege สำหรับคนจบนอก แน่นอนว่าคนทั่วไปไม่มีปัญญาไปเรียนนอกแน่ๆ สนามเล็กก็เหมือนสงวนไว้ให้ลูกท่านหลานเธอโดยปริยาย
เรื่องทำ paper แล้วยื่นพอร์ตเข้าแพทย์ก็เหมือนกัน ถ้าเด็กมัธยมตามโรงเรียนทั่วไปคงหมดโอกาส ก็คงต้องมีระดับอาจารย์หมอช่วยเหลือนั่นแหละถึงทำได้ ซึ่งถ้าไม่ใช่คนใกล้ชิดหรือมีเงินเยอะๆไปเรียนสถาบันที่เปิดคอร์สพิเศษพวกนี้ ก็คงหมดโอกาสไปโดยปริยาย
จะว่าไป มันก็ฟีลระบบขุนนางสมัยก่อนดีๆนี่เอง (ระบบขุนนางของไทยสืบทอดทางเลือดไม่ได้ ถือว่าดีกว่าทางยุโรปหลายประเทศ แต่ไม่มีการสอบเข้า จึงแย่กว่าของจีน ทั้งนี้ก็เปิดช่องให้สืบทอดทางสายเลือดได้โดยราชสำนักมีข้อละเว้นให้กับขุนนางผู้ลูกมีความชอบต่อแผ่นดินจริงๆ คือมีความชอบในราชการได้เสมอบิดาหรือเหนือกว่าบิดาก็จะได้รับอภิสิทธิ์ให้สืบทอดตำแหน่งของบิดา หรือว่าอวยยศให้สูงกว่าบิดาได้ในทันที เห็นไหมเหมือนสมัยนี้เด๊ะๆเลย ไม่ให้สืบทอดกันทางสายเลือดโดยตรง แต่ก็แอบมีช่องทาง privilege ให้ เหมือนกันเด๊ะ)
บอกตามตรง ผมไม่ค่อยชอบอะไรแบบนี้เท่าไร ถ้าจะทำ ก็ทำแบบทหารไปเลยเหอะ ที่ว่าเป็นลูกหลานทหารแล้วมีคะแนนพิเศษให้ตอนสอบเข้า ตรงๆชัดเจนไม่อ้อมค้อมดี
Share this: