ฆ่าตัวตายพุ่งสูง ฤาเป็นเพราะไทยกำลังแก่ชรา

ประเทศในเอเชียหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไปก่อนไทย อาทิเช่น ญี่ปุ่น, เกาหลี, สิงคโปร์ ล้วนมีอัตราฆ่าตัวตายที่สูงทั้งนั้น และยิ่งอายุเฉลี่ยในประเทศมาก อัตราการฆ่าตัวตายก็ยิ่งสูง

ในอดีตที่ผ่านมา เราเชื่อว่าปัญหาเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้คนเกิดความเครียดและฆ่าตัวตาย ซึ่งตัวเลขในอดีตก็เป็นเช่นนั้น

อัตราการฆ่าตัวตายของไทย Cr. http://www.hiso.or.th

ในอดีตที่ผ่านมา เมืองไทยเคยมีอัตราการฆ่าตัวตายต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 5 คน ต่อประชากร 1 แสนคน และสูงสุดอยู่ที่ 8.59 ต่อประชากร 1 แสน ในปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้งที่เศรษฐกิจไทยกำลังทรุดหนัก หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัว ตัวเลขการฆ่าตัวตายก็ลดลงตามลำดับ

แต่ว่าเมื่อประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2553 อัตราการฆ่าตัวตายก็ทยอยพุ่งสูงขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเหมือนกับประเทศอื่นๆในเอเชียที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนเรา และล่าสุด ตอนนี้อัตราการฆ่าตัวตายเราแซงช่วงวิฤตต้มยำกุ้งไปเรียบร้อยแล้ว

ภาพนี้แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา อัตราการฆ่าตัวตายของไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง Cr. https://www.tcijthai.com/

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายเขตพื้นที่แล้ว ยังพบความสัมพันธ์กับอายุนั่นคือ เขตสุขภาพที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงที่สุด ซึ่งเขตสุขภาพดังกล่าว หากดูอายุเฉลี่ยของประชากรในเขตนั้น ก็จะพบว่ามีอายุเฉลี่ยของประชากรสูงที่สุดในประเทศ

การฆ่าตัวตายไม่เพียงเกิดความสูญเสียในทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อจิตใจของคนใกล้ชิดอีกด้วย

เป็นความจริงที่ว่า เมื่อประเทศใดเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เศรษฐกิจก็จะค่อยๆซึมลงทีละนิด อย่างไรก็ตามหากมองปัจจัยด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว ก็จะพบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจตอนนี้ยังดีกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งมาก ดังนั้นการฆ่าตัวตายในสังคมผู้สูงอายุจึงน่าจะมีปัจจัยเรื่อง ความเหงา และความเบื่อทางร่างกายร่วมด้วย

ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศแรกในเอเชียที่เข้าสู่สังคมผู้อายุก่อนใครก่อน กำลังมีวิวัฒน์ไปอีกขั้น นั่นคือ ผู้สูงอายุ พากันออกมาขโมยของ เพียงเพราะว่า อยากติดคุก เนื่องจากคนแก่หลายคนไม่มีเงินเก็บเพียงพอ เหนื่อยแรง อ่อนล้า แต่ในคุกมีข้าวให้กิน มีที่ให้นอน แถมมีเพื่อนไม่ต้องเหงาอีกต่างหาก

รอดูกันว่าไทยจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างไร จะงดงาม หรือสูญเสียยิ่งกว่าประเทศอื่นๆที่เจอวิกฤตเช่นเดียวกับเรา

 

 

 


Share this:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *