เราจะแก้ปัญหาการเผาไร่อ้อยได้อย่างไร ในทางเศรษฐศาสตร์

เป็นที่ทราบกันดีกว่า การเผาเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่น pm 2.5 ที่กำลังสร้างปัญหาอยู่ในขณะนี้ และการเผาไร่อ้อยก็เป็นหนุ่งในนั้น คำถามคือ ทำไมต้องเผา และเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร การเผาไร่อ้อย การเผาไร่อ้อยทำเพื่อกำจัดใบอ้อยให้หายไป เพื่อความสะดวกในการตัด ซึ่งจะทำในช่วงฤดูเปิดหีบอ้อย ซึ่งจะกินระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ช่วงประมาณธันวาคม ถึง เมษายน ของทุกปี วิธีการเผานั้นมักเริ่มจากเผาต้นอ้อยรอบแรก เพื่อให้ตัดได้ง่าย จากนั้นก็จะเผาใบอ้อยที่เหลืออีกรอบ แต่หากมีการตัดสดในรอบแรก หลังจากตัดและนำอ้อยออกจากแปลงแล้ว ก็จะมีการเผาเศษใบอ้อยที่เหลือ ยกเว้นบางแปลง จะมีการใช้เครื่องมาม้วนพันใบอ้อยที่เหลือเป็นม้วนขนาดใหญ่ แล้วนำไปขายเพื่อเป็นเชื้อเพลิง การเผาไร่อ้อยก่อนตัดมีข้อดีคือ แรงงานตัดได้ง่าย ประหยัดค่าแรงและเวลา โดยเฉพาะบางแปลงที่ต้องเร่งตัดให้ทันช่วงเวลาหีบอ้อย (อย่าลืมว่าโควต้าเต็มเมื่อไรก็ปิดหีบ ดังนั้นปีไหนที่ผลผลิตเยอะ ก็ต้องเร่งทำเวลา) สามารถตัดได้แม้อ้อยมีปัญหาเจอลมแรงต้นล้มพันกันมากจนรถตัดไม่ได้ สำหรับข้อเสียของการเผาไร่อ้อยก่อนตัดคือ ทำให้เกิดมลภาวะ เกิดฝุ่น pm 2.5…

ย้อนอดีตถึง 3 ก๊ก เมื่อซาอุตัดหัวฆาตกรฆ่า Khashoggi

หลังจากมีข่าวฆาตกรรมคอลัมนิสต์ชาวซาอุดิอาระเบียชื่อ Jamal Khashoggi ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่วิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ซาอุอย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน หลายฝ่ายก็เชื่อกันว่าผู้อยู่เบื้องหลังคือรัฐบาลซาอุ ล่าสุดผู้ทำการแทนอัยการสูงสุดแห่งราชอาณาจักร Shalaan al-Shalaan เปิดเผยว่าใน 21 คน ที่ทำการควบคุม มีคนที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าและถูกนำตัวมาดำเนินคดี 11 คน และ al-Shalaan ได้ร้องขอให้ทำการลงโทษประหารชีวิตผู้สั่งการ 5 คน ส่วนคนอื่นๆจะมีการฟ้องร้องและลงโทษเป็นรายบุคคล ดูผิวเผิน ก็เหมือนคดีธรรมดาทั่วไป ที่มีการจับผู้กระทำมาลงโทษ อีกทั้งรัฐบาลซาอุ ก็ยังทำการสืบสวนและดำเนินคดีได้ค่อนข้างไว แต่บางคนก็ตั้งข้อสงสัยว่า การกระทำดังกล่าวทำให้เจ้าชาย Mohammed bin Salman พ้นจากข้อกล่าวหา โดยมีการกล่าวโทษไปที่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย 2 คนแทน ปล.การประหารชีวิตในซาอุดิอาระเบียมักใช้วิธีตัดหัวด้วยดาบ อ่านเพิ่มเติม Saudi Arabia will BEHEAD Khashoggi killers อดีตที่ต้องเรียนรู้ กับการตายเพื่อนาย จะว่าไป นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเหตุกา่รณ์คล้ายๆแบบนี้ขึ้นบนโลก…

<คลิป> ฮีโร่ผู้อพยพชาวมาลี ช่วยเหลือเด็กชาวฝรั่งเศส

จากคลิป Mamoudou Gassama ผู้อพยพชาวมาลีช่วยชีวิตเด็กที่ห้อยจากระเบียง หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เค้าได้รับสัญชาติฝรั่งเศส และได้ทำงานในหน่วยดับเพลิง จริงๆ ผมอยากให้คนไทย เลิกยึดติดกับสัญชาติได้แล้วครับ คนไทยไร้ประโยชน์ สร้างปัญหาให้สังคมก็เยอะ ต่างด้าว ทำคุณประโยชน์เพื่อประเทศชาติก็มีไม่น้อย เราคงคัดคนไทยเลวๆออกไปจากประเทศไม่ได้ แต่เราเลือกให้สัญชาติคนดีมีคุณภาพมาสร้างประโยชน์แก่สังคมของเราได้    

ฆ่าตัวตายพุ่งสูง ฤาเป็นเพราะไทยกำลังแก่ชรา

ประเทศในเอเชียหลายประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไปก่อนไทย อาทิเช่น ญี่ปุ่น, เกาหลี, สิงคโปร์ ล้วนมีอัตราฆ่าตัวตายที่สูงทั้งนั้น และยิ่งอายุเฉลี่ยในประเทศมาก อัตราการฆ่าตัวตายก็ยิ่งสูง ในอดีตที่ผ่านมา เราเชื่อว่าปัญหาเศรษฐกิจเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้คนเกิดความเครียดและฆ่าตัวตาย ซึ่งตัวเลขในอดีตก็เป็นเช่นนั้น ในอดีตที่ผ่านมา เมืองไทยเคยมีอัตราการฆ่าตัวตายต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 5 คน ต่อประชากร 1 แสนคน และสูงสุดอยู่ที่ 8.59 ต่อประชากร 1 แสน ในปี 2542 ซึ่งเป็นช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้งที่เศรษฐกิจไทยกำลังทรุดหนัก หลังจากนั้นเศรษฐกิจก็เริ่มฟื้นตัว ตัวเลขการฆ่าตัวตายก็ลดลงตามลำดับ แต่ว่าเมื่อประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2553 อัตราการฆ่าตัวตายก็ทยอยพุ่งสูงขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเหมือนกับประเทศอื่นๆในเอเชียที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนเรา และล่าสุด ตอนนี้อัตราการฆ่าตัวตายเราแซงช่วงวิฤตต้มยำกุ้งไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายเขตพื้นที่แล้ว ยังพบความสัมพันธ์กับอายุนั่นคือ เขตสุขภาพที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน…

ฝรั่ง (ยุโรป) มีสินสอดไหม ?

ในวัฒนธรรมของคนไทย สินสอด เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงที่จะแต่งงานด้วย โดยแฝงความหมายในหลายนัยยะ ได้แก่ หลักประกัน คำมั่นสัญญา ไปจนถึงการตอบแทน ที่ฝ่ายชายมีให้แก่ฝ่ายหญิงในการไปสู่ขอ แต่ความหมายในบางนัยยะก็หมายถึง การตีตรามูลค่าของฝ่ายหญิง ที่ฝ่ายชายต้องไปซื้อมา ในหลายๆครั้ง สินสอดยังแสดงถึง หน้าตา เกียรติ ความมั่นคั่ง และอำนาจ ของทั้ง 2 ฝ่ายที่จะดองเป็นทองแผ่นเดียวกันด้วย ในอินเดีย ฝ่ายหญิง ต้องเป็นผู้ให้ทรัพย์สินแก่ฝ่ายชาย เพราะฝ่ายชายต้องเป็นผู้ดูแลฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงจึงควรตอบแทนผู้ชายก่อนแต่งงาน ยิ่งผู้ชายที่มีหน้าที่การงานดีๆ ค่าสินสอดจะแพงมาก แม้ว่าอินเดียจะออกกฏหมายห้ามการให้และรับสินสอดมาตั้งแต่ปี 1961 แล้วก็ตาม แต่ประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่และสร้างปัญหาให้อินเดียได้ไม่น้อย ในปี 2012 อินเดียมีคดีฆาตกรรมเจ้าสาวเพราะเงินสินสอดถึง 8,223 ราย ในขณะที่ปี 2010 มีถึง 8,391 คดี โดยจำเลยคือครอบครัวฝ่ายเจ้าบ่าว อันเนื่องมาจาก…